วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Infomation system planing


Web Mining
Web Mining ประกอบขึ้นมาจาก 2 ส่วนคือ Technology และ ผู้รับ โดยมีการใช้ Internet เป็นสื่อกลาง ซึ่งการทำ Web Mining นี้จะช่วยทำให้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องเว็บที่เข้าชม ระยะเวลาที่เข้าชม และส่วนในเว็บที่เข้าไปชม
Web Mining แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
          1. Web Content Mining
เป็นการดู Content ต่างๆ บนเว็บ ที่ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นเข้ามาดู
          2. Web Structure Mining
เป็นการดูว่าความน่าสนใจของการออกแบบเว็บนั้น จะสามารถทำให้ผู้เข้าชมจดจำ URL หรือว่าเข้าสู่เว็บไซต์ผ่านทาง link
          3. Web Usage Mining
เป็นการดูพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์ของลูกค้าว่า ดูส่วนไหนบ้าง จากตรงนี้เลือกดูอะไรต่อ


Information System Planning
การวางแผนระบบ IT นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรขนาดใหญ่ การวางแผนนี้จะช่วยให้การใช้ระบบบ IT มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา ซึ่งหัวใจสำคัญของการวางแผนระบบก็คือ กระบวนการวางแผนนระบบ ที่มีความสลับซ้บซ้อน และมีหลากหลายแนวความคิด โดยการวางแผนระบบนั้นจะต้องคำนึงถึงทั้ง infrastructure และ application โดยหลักการและเทนนิคการวางแผนระบบ IT นั้นมีหลากหลายวิธี แตในที่นี้์จะพูดถึงแค่ 3 วิธี คือ

1. Four-stage Planning Model
2. The Business Systems Planning (BSP)
3. Critical Success Factors (CSF) 


Four-stage Planning Model     
1.       Strategic IT Planning เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแผนขององค์กรโดยภาพรวม กับแผนของ IT โดยจะมี 4 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
·         Set IT Mission เป็นการกำหนดว่า บทบาทหน้าที่ของ IS ที่มีต่อการทำธุรกิจนั้นๆ เป็นอย่างไร รวมไปถึงการกำหนด Charter ร่วมกัน
·         Access Environment มองถึงสภาพแวดล้อมทั้งขององค์กร และที่เกี่ยวข้องกับ IS เช่น ความสามารถ และสภาพแวดล้อมขององค์กรในปัจจุบัน, มีการจัด Application Portfolio ไว้อย่างไรบ้าง, ความสามารถของบุคลากรทางด้าน IS เป็นอย่างไร
·         Access Organizational Objectives Strategies เป็นการเข้าถึงแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์กรในปัจจุบันและมองว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบส่วนไหน เพื่อนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ทางด้าน IS เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กร
·         Set IS Policies, Objectives, Strategies โดยจะต้องระบุโครงสร้างองค์กร (สายบังคับบัญชา), เทคโนโลยีที่มุ่งเน้น, วิธีการจัดสรรทรัพยากร, กระบวนการการจัดการต่างๆ และจะต้องสะท้อนถึง Charter ที่วางไว้ด้วย
2.       Information Requirements Analysis เป็นการ ระบุความต้องการทางด้านสารสนเทศขององค์กรแบบกว้างๆ เพื่อสร้างโครงสร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้กำหนดวิธีการพัฒนา โปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมโดยเฉพาะ ซึ่งมี 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
·         Access Organization's Information Requirements กล่าวคือ องค์กรต้องการข้อมูลสารสนเทศตัวใดบ้าง ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
·         Assemble Master Development Plan กล่าว คือ เมื่อทราบความต้องการขององค์กรแล้ว จะต้องมีการนำมาวางเป็นแผนการพัฒนาว่า จะต้องมีระบบ หรือโครงการใดบ้าง โดยจะต้องระบุนิยามของระบบสารสนเทศแต่ละระบบ หรือแต่ละโครงการ, ระดับความสำคัญของแต่ละโครงการ และการจัดตารางเวลาการพัฒนา หรือนำมาใช้ (ซึ่งจะต้องวางในระยะหลายๆ ปี)
3.       Resource Allocation เป็นการปันส่วนทรัพยากรทั้งในส่วนของการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางด้าน IT และการดำเนินงาน ซึ่งจะต้องมีการวางแผน Resource Requirements Plan ไว้ด้วย เช่น ประเภทของ Hardware และ Software ที่ใช้, รูปแบบเครือข่ายที่ต้องการ, ระบบอื่นๆ เช่น ระบบระบายความร้อน และรวมไปถึงแผนงบประมาณการพัฒนา และดำเนินงานด้วย
4.       Project Planning เป็นการพัฒนาแผนสำหรับโครงการ IS ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับตารางเวลา และความต้องการของทรัพยากรที่ใช้ อาจจะใช้เครื่องมือ Project Management เข้ามาช่วยวางแผน เช่น โครงการนี้มีขั้นตอนอะไรบ้าง ใช้ต้นทุนเท่าไร ใช้เวลานานเท่าใด ฯลฯ

The Business Systems Planning (BSP)
                เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย IBM ในการวางแผน IS จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้เห็นถึงโครงสร้างของข้อมูล โดยเริ่มตั้งแต่การกำเนิดข้อมูลจาก Business process และ Data classes  เป็นการบอกว่าแต่ละกระบวนการใช้และสร้าง Data อะไร เพื่อให้ทราบว่าควรจะมี information architecture อย่างไร  databases แบบไหน จะได้หา Application มารองรับ สนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กร และช่วยให้ข้อมูลดำรงอยู่แม้ว่าจะมีการเยนแปลงโครงสร้างองค์กรก็ตาม  โดยมีขั้นตอนดังนี้
·        Gaining Commitment
·        Defining Business Process
·        Defining Data Classes
·        Analyzing Current Systems Support
·        Defining Findings and Conclusions
·        Defining Info Architecture
·        Determining Architecture Priorities
·        Developing Action Plan

                ข้อดี - เห็นภาพกว้างขององค์กร รวมถึงระบบและข้อมูล เหมาะสำหรับการเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์
                ข้อเสีย ใช้เวลามาก ใช้ข้อมูลจำนวนมาก และสนใจปัจจุบันมากกว่าอนาคต

Critical Success Factors (CSF)            
            การพัฒนาระบบสารสนเทศให้พร้อมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูง โดยเน้นไปที่ประเด็นหลักๆ ที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอด/ประสบความสำเร็จขององค์กร โดย CSF จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรม เช่นในแง่ของ ความสำคัญของ IS, Database และ DSS โดย CSF มีขั้นตอนดังนี้
1.       Aggregate and Analyze Individual CSFs     
2.       Develop Agreement on Company CSFs     
3.       Define Company CSFs
4.       Define DSS and Database
5.       Develop IS Priorities
                ข้อดี - ใช้ข้อมูลไม่มากและคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
                ข้อเสีย - การวิเคราะห์นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้จัดทำ


บุญชัย ฉัตรโชคเฉลิมพร
5202112891

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น